เมนู

ก็โดยสังเขป ขึ้นชื่อว่าการทำตัวเป็นทูตนี้ สำหรับสหธรรมิกทั้ง 5
และข่าวสาสน์ ของคฤหัสถ์ที่เกี่ยวด้วยอุปการะพระรัตนตรัย ควร สำหรับ
คนเหล่าอื่น ไม่ควร.

ในบทว่า กุหกา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้


ที่ชื่อว่า พูดหลอกลวง เพราะหลอกลวงชาวโลก คือทำให้พิศวง
ด้วยเรื่องหลอกลวง 3 อย่าง.
ที่ชื่อว่า พูดเลียบเคียง เพราะเป็นผู้พูดมีความต้องการลาภสักการะ.
ที่ชื่อว่า พูดหว่านล้อม เพราะเป็นคำพูดที่มีการหว่านล้อมเป็น
ปกติทีเดียว.
ที่ชื่อว่า พูดและเล็ม เพราะมีคำพูดและเล็มเป็นปกติทีเดียว.
ที่ชื่อว่า แสวงหาลาภด้วยลาภ เพราะแสวงหา คือค้นหา เสาะหา
ลาภด้วยลาภ.
นี้เป็นชื่อของบุคคลผู้ประกอบด้วยการหลอกลวงเหล่านี้ คือ พูด
หลอกลวง พูดเลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วย
ลาภ. นี้เป็นความย่อในที่นี้ แต่โดยพิสดาร เรื่องพูดมีพูดหลอกลวง
เป็นต้น ข้าพเจ้าได้นำพระบาลีและอรรถกถามาประกาศไว้ในสีลนิเทศ
ในวิสุทธิมรรค ดังนี้แล.
มัชฌิมศีลจบเพียงเท่านี้.

เบื้องหน้าแต่นี้ไป เป็นมหาศีล


บทว่า องฺคํ ได้แก่ตำราทายอวัยวะที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ผู้ที่ประ-
กอบด้วยอวัยวะมีมือและเท้าเห็นปานนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง มีอายุยืน มียศ.

บทว่า นิมิตฺตํ ได้แก่ตำราทายนิมิต.
ได้ยินว่า พระเจ้าปัณฑุราช ทรงกำแก้วมุกดาไว้ 3 ดวง แล้ว
ตรัสถามหมอดูนิมิตว่า อะไรอยู่ในกำมือของฉัน ? หมอดูนิมิตผู้นั้น
เหลียวดูข้างโน้นข้างนี้ และในเวลานั้น แมลงวันถูกจิ้งจกคาบแล้วหลุดไป
เขาจึงกราบทูลว่า แก้วมุกดา ตรัสถามต่อไปว่า กี่ดวง ? เขาได้ยินเสียง
ไก่ขัน 3 ครั้ง จึงกราบทูลว่า 3 ดวง. สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวก
ทายนิมิตอ้างตำราทายนิมิตนั้น ๆ อยู่อย่างนี้.
บทว่า อุปฺปาตํ ได้แก่ทายวัตถุใหญ่ ๆ เช่น อสนีบาต เป็นต้น
ตกลงมา. ก็สมณพราหมณ์บางพวกเห็นดังนั้นแล้ว ทำนายอ้างว่า จักมี
เรื่องนี้ จักเป็นอย่างนี้.
บทว่า สุปินํ ได้แก่สมณพราหมณ์บางพวกประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
การทำนายฝันโดยนัยมีอาทิว่า ผู้ฝันเวลาเช้า จะมีผลอย่างนี้ ผู้ฝันดังนี้
จะมีเรื่องชื่อนี้ ดังนี้อยู่.
บทว่า ลกฺขณํ ได้แก่ตำราทายลักษณะมีอาทิว่า ผู้ที่ประกอบด้วย
ลักษณะนี้ จะเป็นพระราชา ด้วยลักษณะนี้ จะเป็นอุปราช.
บทว่า มูสิกจฺฉินฺนํ ได้แก่ตำราทำนายหนูกัดผ้า. ก็เมื่อผ้าแม้ถูก
หนูนั้นคาบมาหรือไม่คาบมาก็ตาม กัดอย่างนี้ตั้งแต่ที่นี้ไป สมณพราหณ์
บางพวกก็ทำนายอ้างว่า จะมีเรื่องชื่อนี้.
บทว่า อคฺคิโหมํ ได้แก่พิธีบูชาไฟว่า เมื่อใช้ฟืนอย่างนี้ บูชาไฟ
อย่างนี้ จะมีผลชื่อนี้.
แม้พิธีเบิกแว่นเวียนเทียนเป็นต้น ก็คือ พิธีบูชาไฟนั่นเอง ตรัส
ไว้แผนกหนึ่ง ด้วยสามารถแห่งความเป็นไปอย่างนี้ว่า เมื่อใช้แว่นเวียน

เทียนเห็นปานนี้ ใช้วัตถุมีรำเป็นต้นเช่นนี้บูชาไฟ จะมีผลชื่อนี้.
บทว่า กโณ ในพิธีนั้น ได้แก่รำข้าว.
บทว่า ตณฺฑุล ได้แก่ข้าวสารแห่งข้าวสาลีเป็นต้น และแห่ง
ติณชาติทั้งหลาย.
บทว่า สปฺปิ ได้แก่เนยโคเป็นต้น.
บทว่า เตลํ ได้แก่น้ำมันงาเป็นต้น.
ก็การอมเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้น พ่นเข้าในไฟ หรือการร่ายเวท
เป่าเข้าในไฟ ชื่อว่าทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ.
การบูชายัญด้วยโลหิตแห่งรากขวัญและเข่าเบื้องขวาเป็นต้น ชื่อว่า
บูชาด้วยโลหิต.
บทว่า องฺควิชฺชา ได้แก่ข้อแรก พูดถึงอวัยวะโดยได้เห็นอวัยวะ
ก่อน แล้วจึงพยากรณ์ ในที่นี้ตรัสถึงวิชาดูอวัยวะ โดยได้เห็นกระดูก
นิ้วมือ แล้วร่ายเวทพยากรณ์ว่า กุลบุตรนี้มีทรัพย์หรือไม่ หรือมีสิริหรือไม่
ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า วตฺถุวิชฺชา ได้แก่วิชาหมอดู กำหนดคุณและโทษแห่ง
ปลูกเรือนและพื้นที่สวนเป็นต้น. แม้ได้เห็นความต่างแห่งดินเป็นต้น ก็
ร่ายเวทเห็นคุณและโทษ ในใต้พื้นปฐพี ในอากาศ ประมาณ 30 ศอก
และในพื้นที่ประมาณ 80 ศอก.
บทว่า เขตฺตวิชฺชา ได้แก่วิชานิติศาสตร์ มีอัพเภยยศาสตร์
มาสุรักขศาสตร์และราชศาสตร์เป็นต้น.
บทว่า สิววิชฺชา ได้แก่วิชาว่าด้วยการเข้าไปทำความสงบในป่าช้า
อาจารย์บางท่านกล่าวว่า เป็นวิชารู้เสียงหอนของสุนัขจิ้งจอกก็มี.

บทว่า ภูตวิชฺชา ได้แก่มนต์ของหมอผี.
บทว่า ภูริวิชฺชา ได้แก่มนต์ที่คนอยู่ในบ้านเรือนจะต้องเรียนไว้.
บทว่า อหิวิชฺชา ได้แก่วิชารักษาคนถูกงูกัด และวิชาเรียกงู.
บทว่า วิสวิชฺชา ได้แก่วิชาที่ใช้รักษาพิษเก่าหรือรักษาพิษใหม่
หรือใช้ทำพิษอย่างอื่น.
บทว่า วิจฺฉิกวิชฺชา ได้แก่วิชารักษาแมลงป่องต่อย.
แม้ในวิชาว่าด้วยหนู ก็นัยนี้แหละ.
บทว่า สกุณวิชฺชา ได้แก่รู้เสียงนก โดยรู้เสียงร้องและการไป
เป็นต้น ของสัตว์มีปีกและไม่มีปีก และสัตว์ 2 เท้า 4 เท้า.
บทว่า วายสวิชฺชา ได้แก่รู้เสียงร้องของกา. ความรู้นั้น เป็น
ตำราแผนกหนึ่งทีเดียว ฉะนั้น จึงได้ตรัสไว้แผนกหนึ่ง.
บทว่า ปกฺกชฺฌานํ ได้แก่วิชาแก่คิด อธิบายว่า เป็นความรู้
ในสิ่งที่ตนไม่เห็น ในบัดนี้ เป็นไปอย่างนี้ว่า คนนี้จักเป็นอยู่ได้เท่านี้
คนนี้เท่านี้.
บทว่า สวปริตฺตานํ ได้แก่วิชาแคล้วคลาด คือ เป็นวิชาทำให้
ลูกศรไม่มาถูกตนได้.
บทว่า มิคจกฺกํ นี้ ตรัสรวมสัตว์ทุกชนิด โดยที่รู้เสียงร้องของ
นกและสัตว์ 4 เท้าทั้งหมด.

ในการทายลักษณะแก้วมณีเป็นต้น มีอธิบายดังนี้


สมณพราหมณ์บางพวกประกอบเนือง ๆ ซึ่งการทายลักษณะแก้วมณี
เป็นต้น ด้วยอำนาจสีและสัณฐานเป็นต้น อย่างนี้ว่า แก้วมณีอย่างนี้ดี